พนักงานรักษาความปลอดภัย “รับอนุญาต” ต้องผ่านการอบรมอะไรบ้าง

Last updated: 18 พ.ย. 2564  |  2661 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พนักงานรักษาความปลอดภัย “รับอนุญาต” ต้องผ่านการอบรมอะไรบ้าง

อย่างที่ทราบกันดีว่าอาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัยในปัจจุบันนั้นมีกฎหมายควบคุมคือ พรบ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2558 กำหนดให้ผู้ที่ต้องการสมัครทำงานด้านรักษาความปลอดภัยทุกคนจะต้องได้รับใบอนุญาต รปภ.ทุกคนจะต้องมีคุณสมบัติที่ผ่านเกณฑ์ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด (มาตรา 16) และจะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรรักษาความปลอดภัยจากศูนย์ฝึกอบรมที่นายทะเบียนกลางรับรองให้เท่านั้น

  

สำหรับการอบรมในหลักสูตร พนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต จากศูนย์ฝึกอบรมฯ ความรู้ในการทำหน้าที่ของ รปภ. ต้องผ่านการอบรมในหัวข้อหลักๆ ตามที่ พรบ. กำหนด ดังนี้

  1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจรักษาความปลอดภัย
    พนักงานที่จะเข้ามาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย จำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นในการให้บริการของธุรกิจรักษาความปลอดภัย ขอบเขตการให้บริการและความสำคัญของการรักษาความปลอดภัย ถือเป็นความรู้พื้นฐานที่ รปภ. ต้องมี

  2. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    ในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย จำเป็นต้องมีความรู้ด้านกฎหมายเบื้องต้น การกระทำในลักษณะไหนบ้างที่ผิดกฎหมาย หรือละเมิด และบทลงโทษเป็นอย่างไร พนักงานรักษาความปลอดภัยจำเป็นต้องศึกษา เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปได้อย่างมีมาตรฐาน

  3. การรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน
    ในหัวข้อนี้เป็นความรู้สำคัญในภาพรวมของการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย ที่ครอบคลุมความรู้พื้นฐานไม่ว่าจะเป็นการวางแผนมาตรการรักษาความปลอดภัย การพิจารณาอันตรายที่จะเกี่ยวกับสถานที่ ระบบการรักษาความปลอดภัย และการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ

  4. การเขียนรายงานสำหรับพนักงานรักษาความปลอดภัย
    การเขียนรายงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยนั้น นอกจากเพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์และเรื่องราวที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานแล้วนั้น ที่สำคัญก็เพื่อเป็นหลักฐานในการสืบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจด้วย บางครั้งในการบันทึกเหตุการณ์ประจำวันของพนักงานรักษาความปลอดภัย ข้อมูลที่บันทึกอาจเป็นประโยชน์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจในการสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดได้ (อ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ในบทความ การเขียนรายงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยสำคัญอย่างไร)

  5. การเตรียมความพร้อมกรณีเหตุฉุกเฉิน
    เป็นการประเมินความเสี่ยงและประเมินสถานการณ์ฉุกเฉินหรือวิกฤตการณ์ พนักงานรักษาความปลอดภัยจำเป็นต้องมีไหวพริบในการแก้ไขสถานการณ์ และรู้กระบวนการในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย

  6. การติดต่อสื่อสาร
    อีกหนึ่งทักษะสำคัญที่พนักงานรักษาความปลอดภัยต้องมี คือการติดต่อสื่อสารของ รปภ. ต้องสื่อสารที่ทำให้เกิดความประทับใจ ชัดเจน เข้าใจง่าย เมื่อพบความผิดปกติใดๆ รปภ. จะต้องติดต่อแจ้งให้ทราบในทันที

  7. หลักการใช้กำลัง
    แนวทางในการริเริ่มใชกําลังหรืออาวุธ โดยเจ้าหนาที่ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ กฎหมาย และผลสัมฤทธิ์ในการควบคุมเหตุการณ์

  8. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย ในบางสถานการณ์อาจเจอกับเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายต่อทรัพย์สิน แต่ในบางสถานการณ์ก็อาจจะเป็นเหตุการณ์ที่ต้องเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บเป็นการฉุกเฉิน ก่อนที่จะไดรับการรักษาทางการแพทย์ การปฐมพยาบาลจึงมีความสำคัญ เป็นการช่วยเหลือชั่วคราวระหวางรอคอยการรักษาจากแพทย์ ในรายที่บาดเจ็บรุนแรง การปฐมพยาบาลอาจเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผูป่วยเจ็บรอดชีวิตได้

  9. การจัดการและการควบคุมการจราจร
    การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย ในชั่วโมงเร่งด่วนจำเป็นต้องมีการอำนวยความสะดวก รปภ. จะต้องสามารถจัดการดูแลด้านการจราจร เช่น ที่จอดรถ ช่องทางเดินรถ และบัตรรถที่ผ่านเข้า-ออก และการตรวจสอบ เพื่อสามารถอำนวยความสะดวกด้านการจราจรในสถานที่ที่รับผิดชอบได้

  10. การฝึกภาคสนามบุคคลท่ามือเปล่า
    หลังจากการฝึกอบรมในภาคทฤษฎีทั้งหมดแล้ว ก็จะมีการฝึกอบรมภาคสนามด้วย ซึ่งรวมทุกหัวข้อไว้ทั้งหมด และมีการวัดผลการอบรมต่อไป


บริษัท รักษาความปลอดภัย ชินณพัฒน์ ซีเคียวริตี้ ผู้เชี่ยวชาญบริการรักษาความปลอดภัยในเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง ให้บริการครบวงจร ตอบโจทย์ทุกความต้องการ บริการรักษาความปลอดภัย บริการอำนวยความสะดวกด้านจราจร บริการดูแลความปลอดภัยบุคคลสำคัญ และบริการพนักงานป้องกันระงับอัคคีภัย ด้วยทีมงานระดับคุณภาพ กับประสบการณ์ที่มากกว่า 10 ปี พร้อมดูแลความปลอดภัยด้วยความจริงใจ สนใจติดต่อเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 052-010212 หรือ shinnapatsecurity.com/contactus

ค้นหาบริการเพิ่มเติม : บริการรักษาความปลอดภัย , บริการอำนวยความสะดวกด้านจราจร , บริการดูแลความปลอดภัยบุคคลสำคัญ , บริการพนักงานป้องกันระงับอัคคีภัย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้